อันตรายจากการเกิดอัคคีภัย

       การเกิดเพลิงไหม้เป็นอุบัติภัยที่ร้ายแรงยิ่งกว่าภัยพิบัติใดๆ ในแต่ละปีมีที่อยู่อาศัยต้องเสียหายจากเพลิงไหม้จำนวนหลายหลังคาเรือน ดังนั้นการเตรียมการป้องกันการเกิดเพลิงไหม้จึงเป็นสิ่งจำเป็นหากอาศัยอยู่ในบริเวณที่เสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้
        วิธีการปฏิบัติเพื่อหลีกเหลี่ยงจาการเกิดไฟไหม้
       1. เลือกใช้วัสดุสร้างบ้านที่มีคุณสมบัติป้องกันไฟโดยเฉพาะบริเวณหลังคา วัสดุที่ใช้เป็นหลังคาประเภทกระเบื้องและหินมีคุณสมบัติในการป้องกันไฟได้เป็นอย่างดี ในทางตรงกันข้ามไม้จะเป็นวัสดุที่เป็นเชื้อไฟชนิดร้ายแรง
         2. ในกรณีที่เป็นที่อยู่อาศัยที่สร้างใหม่ ควรใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นอิฐหรือหิน
         3. ควรติดตั้งสายล่อฟ้าเพื่อป้องกันฟ้าที่ผ่าที่เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของการเกิดอัคคีภัย
         4. หากมีการตกแต่ง ทาสีบ้านใหม่ ควรใช้สีที่ต้านทานหรือทนต่อการเกิดไฟไหม้ได้
     5.อย่านิ่งนอนใจหากกลุ่มเพลิงไหม้กำลังลุกลามมาถึงบ้านของคุณ ให้หาหินหรืออิฐมาวางทับกั้นส่วนต่างๆที่เป็นไม้ในบ้านเอาไว้ เช่น รั้วบ้านที่ทำจากไม้
         6. รื้อพุ่มไม้แห้งและต้นไม้ที่ตายไปแล้ว รวมทั้งตัดแต่งกิ่งไม้ที่แห้งแล้วออกไปอย่างสม่ำเสมอ
         7. อย่าทิ้งให้สนามหญ้าหน้าบ้านแห้งเหี่ยว ควรรดน้ำให้ความชุ่มชื้นแก่สนามเป็นประจำ
         8. หมั่นกวาดใบไม้ที่ร่วงหล่นอยู่ใต้ต้น
         9. หลีเลี่ยงการวางวัสดุที่ทำจากไม้หรือของใช้จิปาถะไว้ภายในบริเวณที่อยู่อาศัย
        ข้อสำคัญคือ  ควรหาช่องทางหลบหนีจากเพลิงไหม้หากเกิดอัคคีภัย
การหลีกเลี่ยงการเกิดอัคคีภัยภายในบ้าน
     ไม่มีใครสามารถรอดพ้นจากการคุกคามของเพลิงไหม้ได้สำเร็จ อุบัติเหตจากเพลิงไหม้ได้คร่าชีวิตผู้คนจำนวนนับพันในแต่ละปี และสร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สินอย่าประเมินค่ามิได้
        ดูแลสถานที่อยุ่อาศัย ระมัดระวังวัตถุไวไฟดังต่อไปนี้
                   ประเภทที่ 1 วัตถุติดไฟง่าย เช่น กระดา ไม้ เสื้อผ้าและวัสดุที่มีคุณสมบัติอื่นคล้ายคลึงกัน
               ประเภทที่ 2 ของเหลวมีลักษณะไวไฟ แก๊ส น้ำมัน น้ำมันล่อลื่นเครื่องยนต์ แล็กเกอร์และทินเนอร์
             ประเภทที่ 3 อุปกรร์สื่อนำไฟฟ้า

       หากปฎิบัติตามคำเตือนเหล่านี้ได้อัตราความเสี่ยงจากการตกเป็นเหยื่อของอัคคีภัยก็จะลดน้อยลง
           1 ตรวจสอบความชำรุดของเครื่องใช้ไฟฟ้า รอยแตกปริของสายไฟ
           2 ซ่อมแซมหรือเปลี่ยนเต้ารับเต้าเสียบที่เกิดสนิม
        3 หลีกเลี่ยงการใช้ไฟฟ้าเกินกำลังอัตรากลังที่มันสามารถรองรับได้ เช่น เสียบปลั๊กสามตา ลงในเต้ารับอนเดียวกันหลายๆอัน
        4 ตรวจดูบริเวณหลังตู้เยนละหลังเครื่องซักผ้าว่ามีวัตถุไวไฟใดๆ ตกหล่นอยู่หรือไม่
           5 อย่าลากโยงสายไฟฟ้าผ่านได้พรมปูพื้น
           6 ไม่ควรให้มือเปียกขณะเสียบสวิตช์เครื่องใช้ไฟฟ้า เพราะน้ำเปนของเหลวที่นำไฟฟ้าอย่างหนึ่ง
           7 สอนลูกหลานไม่ให้แย่มือ ดินสอหรือวัสดุปลายแหลม เข้าไปในเต้าเสียบ
       เมื่อเกิดไฟลุกลามภายในบ้าน
    1 สมาชิกในครอบครัวทุกคนควรหลบหนีออกจากบ้านให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และควรมีการนัดแนะกันก่อนว่าจะไปรวมกันอยู่ที่จุดใด(หากทำได้) เพื่อนับจำนวนว่าทุกคนปลอดภัยดี
        2 ใช้สามัญสำนึก อย่าตื่นตระหนกจนเกินไป ตรวจสอบให้แน่ใจเสียก่อนว่าทิศทางที่กำลังจะไปไม่มีไฟลามตามมาหรือไม่มีเครื่องกีดขวางที่ทำให้เกิดอุปสรรคในการหลบหนี

      3 โทรแจ้ง 191 หรือสถานีดับเพลิงใกล้บ้าน (ควรจดเบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉินนี้ไว้ใกล้ๆเครื่องโทรศัพท์

                     แว่นดำ ฉายธรรม.รู้แล้วใช้ประโยชน์.กรุงเทพฯ:เคล็ดไทย จำกัด.

                                         
                                                 ที่มารูปภาพ  httpd://www.google.co.th/search?q=

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น